ทำอย่างไรเมื่อผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมมีภาพหลอน
อาการมองเห็นภาพหลอนเป็นอาการหนึ่งที่เจอได้ในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม โดยผู้ป่วยอัลไซเมอร์มักเป็นการเกิดการเข้าใจผิด มากกว่าเกิดภาพหลอน โดยตรง เช่น เห็นเงาตะคุ่มๆ คิดว่าเป็นผี หรือเห็นคนเดินมา คิดว่าจะขโมยเป็นต้น โดยอาการเหล่านี้ มักเกิดเมื่อเป็นอัลไซเมอร์มานานระยะหนึ่ง ในขณะที่ผู้ป่วยสมองเสื่อมบางโรค เช่น dementia with lewy bodies อาจมีภาพหลอน เกิดขึ้น ได้ตั้งแต่ระยะเริ่มๆ ของโรค
ผู้ดูแลผู้ป่วยควรพยายามทําความเข้าใจวาอะไร คือ สิ่งที่ทําให้คนไข้มองแล้วเกิดความเข้าใจว่าเป็นภาพหลอน เช่น
– เงากระจกตัวเองในห้องนอน
– เงาที่แขวนเสื้อในห้อง
– ทีวีที่เปิดทิ้งไว้
ผู้ดุแลผู้ป่วยควรพยายามใจเย็นในการสื่อสารกับคนไข้ และทำให้คนไข้มั่นใจในความปลอดภัย ถ้าหากอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาหมอ เพราะบางครั้ง ยาบางอย่าง เช่น กลุ่มยา anticholinergic เช่น ยาลดน้ำมูก ยาแก้แพ้ และ การเจ็บป่วยทางกาย ก็ทำให้คนไข้เกิด delirium หรือ ภาวะสับสนเฉียบพลันได้ ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่าย โวยวาย และเห็นภาพหลอนได้ค่ะ
หมอมีตัวอย่าง VDO:จาก UCLA caregiver training program ค่ะ ซึ่งหมอว่าเป็นวีดีโอที่อธิบายเรื่องการเห็นภาพหลอน และการรับมือกับผู้ป่วยเมื่อเกิดภาพหลอนได้ดีมากค่ะ
https://www.youtube.com/watch?v=cpV57QGdU7I